จากข่าวที่หลายๆ คนแชร์กันออกไปมากมายเกี่ยวกับการปั้ม LIKE ที่โดนจับในประเทศไทย ความจริงแล้วมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร เพราะเรายังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ (จากข่าวที่โดนจับ เพราะเกิดจากเพราะลักลอบทำงานโดยไม่รับอนุญาต, และ ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าหนีภาษี เนื่องจากโทรศัพท์ที่ยึดได้ลักลอบนำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย อ่านข่าวต้นฉบับที่นี่)
เมื่อเป็นข่าว หลายๆ คนก็ตื่นตัวว่าการปั้มยอดไลค์เพื่อให้เพจดูหน้าเชื่อถือ นั้นจะส่งผลกระทบอะไรกับแบรนด์หรือไม่ หรือควรป้องกันอย่างไร จากการปั้มยอดไลค์คงไม่ได้กระทบอะไรกับแบรนด์มากนัก เพราะนักการตลาดมักจะประสบกับการโกงกิจกรรมจากนักล่ารางวัลอยู่เป็นประจำอยู่ (ซึ่งใช้วิธีเดียวกัน)
ที่น่ากังวลมากกว่าการแค่ปั้มไลค์เพราะนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ การโกงการโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า “AD FRAUD”
แล้ว AD FRAUD หรือ การโกงการโฆษณา คืออะไร
มันคอการเสริฟ impression โฆษณาโดยไม่มีแม้กระทั่ง Potential Target ได้เห็นโฆษณา หรือโฆษณาแบบไม่มีคนเห็น แต่จะเก็บตังค์ตามจริง ถ้าจะเปรียบเทียบก็คือ เหมือนเราซื้อมันฝรั่งกรอบแต่เราได้ลมในถุงมาแทน
โดยปกติแล้วเราซื้อโฆษณาออนไลน์กันในหน่วยของ CPM (Cost per 1000 Impression) ซึ่งถ้าเราไม่มี Tool ต่างๆ ในการ Tracked ว่า ได้เกิดการ serve impression จริงหรือเปล่า เราคงได้แต่เดาว่าโฆษณาได้แสดงผลจริงตาม Report ที่แสดง แต่ถ้าใน 1000 impression ที่ซื้อ มีแค่ 5% หรือ 10% ที่แสดงผลให้คนจริงๆ ได้เห็นโฆษณาละ คุณจะรู้สึกอย่างไร หรือ โฆษณาที่ลงไปนั้น คลิกที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากคนจริงๆ ละ Performance ที่คุณต้องการจริงๆ คงจะพังไม่เป็นท่าเป็นแน่
ประเภทของ AD FRAUD
จริงแล้วมีเพียง 2 ประเภท คือ
1) BY HUMAN หรือ IVT (Invalid Traffic) คือการทำโกงการโฆษณาโดยมนุษย์ อ้าวมีมนุษย์เกิดขึ้นแบบนี้ก็ไม่เรียก Ad fraud สิ แต่ถ้าเราจะเข้าใจในรูปแบบที่คนไทยคุ้นเคยคือ “พวกที่ชอบโฆษณาว่า คุณพอมีเวลาว่างสัก 2-3 ชั่วโมงหรือไม่ แค่คลิกโฆษณาก็ได้เงิน” พวกนี้ก็ทำการคลิกแหลก เพื่อให้ยอดเยอะๆ คล้ายๆ กับปั้ม LIKE นั้นแหละ แต่เพียงแต่หนึ่งคนปลอมแปลงเป็นหลายๆ USER เพื่อคลิก หลบเลี่ยงโดยใช้ Technology แทน หรือพวก click farming ต่างๆ
2) BY ROBOT หรือ NHT (Non Human Traffic) มีหลายรูปแบบอันได้แก่
-
Ghost sites เว็ปไซต์ปลอม เพื่อแสดงผมโฆษณาปลอมๆ แล้วคลิกกลับมาจากเว็ปปลอมๆ นั้น (ขนาดเว็ปยังปลอม traffic ที่เข้ามาก็ปลอมเช่นกัน
-
Ad stacking การโฆษณาแบบเป็นชั้นๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ ในหนึ่งช่องการโฆษณาอาจจะมีหลาย Slot เมื่อโฆษณาหนึ่งทุกแสดงผล โฆษณาชิ้นอื่นใน SLOT ก็ถูกนับ impression ด้วยเช่นกัน
-
Pixel Stuffing การโฆษณานั้นไม่ได้แสดงผลจริง เพียงแค่นำเอา coding ของการแสดงผลไปแปะไว้แทนเพื่อให้นับจำนวน impression
-
Ad Injection เทียบง่ายๆ ก็คือพวกการโหลด Toolbar เถื่อนๆ แล้วมี ชิ้นโฆษณาติดอยู่ ซึ่งแสดงผลทุกครั้งทีเ่ปิด web browser
-
Domain and site spoofing หรือ เปลี่ยน Domain ให้เป็น Domain ที่ไม่มีจริง
-
Browser Fraud
-
Re-targeting Fraud
ยังมีอีกหลายอย่างที่ทำมาเพื่อโกงโดยเฉพาะ การรู้เท่าทันรูปแบบการโกง นั่นจะทำให้หาวิธีป้องกันและตรวจสอบโฆษณาว่ามีประสิทธิภาพดีจริงไม่
ป้องกันง่ายๆ โดยการใช้ Third party ในการตรวจสอบมีมากมายเช่น Fraudlogix, FORENSIQ SENTRANT, IPONWEB, SPIDER.IO หรือ การ serving ผ่าน Ad serving จำพวก sizmek, DoubleClick เพื่อตรวจสอบควาเป็นไปเป็นมาของ traffic ว่าเรากำลังลงโฆษณาได้อย่างถูกต้องหรือไม่
การโกงนั้นเกิดขึ้นในทุกรูปแบบ นักการตลาดไม่ควรมองเพียง Quantity ที่ได้จากการลงโฆษณาเท่านั้น ควรคำนึง Quality ที่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าคุณยังยึดติดกับการจำนวน ไม่ว่าจะเป็น 1 ล้านวิว 20 ล้าน Click สุดท้ายคุณอาจจะได้ตัวเลขที่มาจาก AD FRAUD ที่ไม่ได้ส่งผลดีอะไรให้กับ Business คุณเลยก็เป็นได้
Comment here