เมื่อองค์กรนำรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดมาใช้จำเป็นอย่างมากที่ต้องจัดลำดับความสำคัญให้กับความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวและประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี
เนื่องจากองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคกำลังดำเนินการพิจารณา นำมาใช้ และปรับใช้การทำงานแบบไฮบริด การวิจัยใหม่จาก Qualtrics ได้แสดงว่าหนึ่งในสามของพนักงาน (34 เปอร์เซ็นต์) อาจมองหางานใหม่ หากพวกเขาถูกบังคับให้กลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศแบบเต็มเวลา ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดกลายเป็นวิธีทำงานที่ได้รับความชื่นชอบอย่างชัดเจนในภูมิภาคนี้ การจัดเวลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่พนักงานคือทำงานระยะไกลสามวัน / ทำงานในออฟฟิศสองวัน
ในเวลานี้ นายจ้างท้องถิ่นกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิธีการทำงานแบบดั้งเดิม ผลการค้นพบจากรายงาน แนวโน้มประสบการณ์พนักงานปี 2022 ของ Qualtrics ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนที่สำคัญเกี่ยวกับความต้องการที่สอดคล้องกับประสบการณ์พนักงาน พร้อมด้วยความคาดหวังของผู้คนเพื่อช่วยให้องค์กรดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงไว้
หนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนมากที่สุดสำหรับนายจ้างในการเปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบไฮบริดคือการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวของพนักงานและการตั้งแนวทางที่ชัดเจนสำหรับวิธีการทำงาน ถึงแม้ว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีรายงานระดับคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก แต่ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานตลอด 12 เดือนที่ผ่านมานี้มีระดับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่เผชิญปัญหาการลดลงถึง 12 เปอร์เซ็นต์ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันนั้นไม่มีความยั่งยืน เว้นแต่พนักงานจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในทีมของพวกเขา
การพัฒนาประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสำหรับพนักงานในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดควรได้รับการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ในปี 2022 ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กล่าวว่าเทคโนโลยีที่จัดหาให้พวกเขาใช้งานนั้นตรงกับความคาดหวังของพวกเขา โดยในสิงคโปร์มีตัวเลขต่ำสุดที่ 24 เปอร์เซ็นต์ การลงทุนเพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในสถานที่ทำงานแบบไฮบริดจะให้ผลดีในหลายๆ ด้าน นอกเหนือกจากการช่วยขับเคลื่อนด้านผลิตภาพแล้ว ผลการวิจัยของ Qualtrics ยังได้แสดงว่าพนักงานผู้ซึ่งมีความพึงพอใจกับเทคโนโลยีที่มีอยู่นั้น มีแน้วโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับที่ทำงานมากขึ้นถึงสี่เท่า
ถึงแม้ว่าพนักงานมีความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อสูงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่ตัวเลขของพนักงานที่วางแผนจะอยู่ทำงานต่อกับนายจ้างปัจจุบันได้ลดลงในปีนี้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าพนักงาน 7 ใน 10 ในไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์จะยังคงทำงานเดิมอยู่ในปีนี้ เทียบกับ 53 เปอร์เซ็นต์ในสิงคโปร์
สำหรับนายจ้างที่ต้องการเพิ่มการรักษาพนักงานในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูง การสร้างวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของร่วมได้ถูกระบุว่าเป็นแรงผลักดันหลักของความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อ การสร้างความมั่นใจเพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายในอาชีพการทำงานของพวกเขาได้ การจัดลำดับความสำคัญให้กับความเป็นอยู่ที่ดี และการปรับแนวทางส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของบริษัทได้ถูกพูดถึงเช่นกัน
การวิจัยของ Qualtrics ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการรับฟัง การทำความเข้าใจ และตอบสนองกับความคิดเห็นของพนักงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าตรงตามความต้องการของพนักงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเปลี่ยนแปลง ด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์พนักงานโดยรวมได้ดีขึ้นและสม่ำเสมอมากขึ้น ตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อเป็นแรงผลักดันในการรักษาพนักงาน องค์กรจะสามารถออกแบบข้อเสนอใหม่และข้อเสนอที่ได้รับการปรับปรุงแล้วได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์พนักงานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
“เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างประสบความสำเร็จ และสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องรับแนวคิดใหม่มาปรับใช้ รวมถึงกำหนดและเน้นย้ำวิถีการทำงานของพวกเขา ดังที่ได้เห็นในการวิจัยของ Qualtrics การจัดการกับความ ท้าทายที่ได้เผชิญอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายดายเหมือนการจัดตารางการทำงานใหม่หรือการเพิ่มการมีส่วนร่วมเลย ผู้คนมีความต้องการในสภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบันที่แตกต่างกัน นั่นหมายถึงความสามารถในการระบุและตอบสนองกับปัญหาที่ส่งผลกระทบมากที่สุดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยเครื่องมือของ Qualtrics จะช่วยสร้างความได้เปรียบที่สำคัญได้” กล่าวโดย Lauren Huntington นักกลยุทธ์โซลูชั่นประสบการณ์พนักงานของ Qualtrics ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
Comment here