Marketing

10 วิธีการทำ Digital Targeting Segmentation

10 way target segmentation

เรื่องการ define target audience เป็นเรืองที่ค่อนข้างน่าปวดหัวสำหรับนักการตลาด ยิ่งในยุคของ digital ยิ่งทำให้การแยก segment ของ target เพิ่มขึ้นไปอีก

วันนี้เอา 10 วิธีการทำ segmentation มาฝากกันครับ

1. Purchasing Behavior หรือ พฤติกรรมการซื้อ

เราสามารถ segmentation จากพฤติกรรมการซื้อของ user ว่ามีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้นทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ถึงพฤติกรรมและวิธีคิดของ user ได้อีกด้วย แล้วอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงก่อนการจำแนกพฤติกรรมการซื้อ

  • การตัดสินซื้อต่างกันอย่างไร

  • ความยากในกระบวนการการตัดสินใจซื้อ

  • อะไรเป็นอุปสรรคหลักในการตัดสินใจซื้อ หรือ ไม่ซื้อ

  • พฤติกรรมที่เราสามารถคาดเดาได้ว่า ลูกค้าจะซื้อหรือไม่ซื้อ

เราสามารถแยกกลุ่ม user จากพฤติกรรมการซื้อได้ดังนี้ครับ

  • Price conscious หรือพวกชอบต่อรองราคาให้ได้ถูกที่สุด

  • Smart หรือกลุ่มที่มีความพิถีพิถันในการเลือกก่อนการตัดสินใจซื้อว่าอันไหนจะเหมาะที่สุด

  • Need proof หรือกลุ่มที่ต้องการความมั่นใจว่าสิ่งที่ซื้อนั้นได้การรองรับจากคนทั่วไป

  • Persuadable หรือพวกที่อ่อนไหวต่อสิ่งเร้าต่างๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น หรือ ของแถม

  • Risk-Averse หรือพวกที่ไม่ชอบเสี่ยงในการซื้อของ ต้องมีการรรับรองในการซื้อ การคืนสินค้า ต่างๆ

  • I’ll Get it later หรือพวกไม่รีบในการซื้อ ไม่มีความเร่งด่วนในการใช้สินค้า

2. Benefits Sought

การแบ่ง segment แบบที่สองคือ แบบเอา benefits เป็นที่ตั้ง เราอาจจะเอา benefits ของ product เป็นที่ตั้งว่า benefits ของโปรดักส์มีกี่แบบและ benefits นั้น matter กับคนกลุ่มไหน

3. Customer Journey Stage

แบบที่สามคือการจำแนกตาม customer journey ว่าลูกค้าอยู่ใน stage ไหน หรือ communication ของโปรดักส์นั้นตรงกับ stage ไหนของ customer journey บ้าง

4. Usage

จำแนกตามการใช้งานของสินค้า ว่า มีความถี่ในการใช้สินค้าอย่างไร และใช้อย่างไร แบ่งตามความถี่ในการใช้งาน

  • Heavy Users ( “Super Users”)

  • Average or Medium Users

  • Light Users

5. Occasion or Timing-Based

จำแนกตามโอกาสในการใช้งาน หรือตามเวลาในการใช้ แบ่งเป็น

  • Universal occasions โอกาสทั่วไปๆ ที่ user จะใช้สินค้า ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ

  • Recurring-personal occasions โอกาสที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือเป็น patterns ของแต่ละลูกค้า เช่น วันเกิด วันครบรอบ หรือ การซื้อสินค้าในแต่ละเดือน

  • Rare-personal occasions เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแค่ละบุคคลที่ยากในการทำนาย เช่น ไปวันแต่งงานของเพื่อน

 

6. Customer Satisfaction

จำแนกตามความพึงพอใจของ Target Audience ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยกับสินค้าเราอย่างไร

7. Customer Loyalty

จำแนกตามความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ว่า loyalty กับแบรนด์ขนาดไหน คำถามที่ใช้ในการจำแนกกลุ่มนี้ ได้แก่

อะไรที่เป็นปัจจัยหลักหรือพฤติกรรมหลักที่ทำให้ลูกค้ามีความ loyalty

อะไรที่ทำให้ลูกค้าประทับใจกับแบรนด์มากขึ้น

8. Interest

การจำแนกแบบนี้ นักการคลาดค่อนข้างคุ้นเคย โดยการจำแนกตามความสนใจของลูกค้า และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความสนใจของลูกค้า ดังภาพดัานล่าง

9. Engagement Level

การจำแนกตามความตอบรับจากลูกค้าว่ามีระดับการ engage ใครที่ทำให้เกิดการ engage กับแบรนด์มากที่สุดหรือใครที่ทำให้เกิดการ engage น้อยที่สุด รวมถึงจำนวนเวลาในการ engage กับแบรนด์ด้วยเช่นกัน

10. User Status

จำแนกตามสเตตัสของลูกค้า

  • Non-users

  • Prospects

  • First-time buyers

  • Regular users

  • Defectors(ex-customers who have switched to a competitor)

การจำแนกกลุ่มเป้าหมาย เมื่อจำแนกแล้วจะช่วยทำให้เราสามารถคิดถึง content หรือ วิธีการส่งสารหากลุ่มเป้าหมาย ถ้า content ตรงใจและเข้ากับ insight ของกลุ่มเป้าหมายจะทำให้การทำ communication มีประสินธิภาพมากขึ้น

Comment here